ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชีววิทยา
{{Tag เรียน......อย่างคนมีกึ๋น }}
กติกา: 
1. copy กติกาของแท็กคนมีกึ๋นไปใส่ไว้ในเอ็นทรี่
2. ตั้งชื่อเอ็นทรี่เป็น "Tag เรียน....อย่างคนมีกึ๋น" <-- ใส่ชื่อคณะหรือเอกที่คุณเรียนลงไป
3. ตอบคำถาม 5 ข้อต่อไปนี้
- ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?
- สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?
- สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ
- อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
4. พิมพ์ชื่อ Tags ให้ไปอยู่ในหมวดหมู่ของคณะตัวเอง เช่น มนุษยศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ
รวมถึงหมวดหมู่ Admission เพื่อให้น้องๆ ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ได้เข้าไปเลือกอ่านได้ตามความสนใจ จากนั้นอย่าลืม.. ส่ง tag ต่อ
ก่อนฉายหนังต้องโฆษณาสรรพคุณก่อนมั๊ยอ่ะเคอะ ? เอาเป็นว่าแนะนำตัวคร่าวๆ ละกัน =3=)
อ่า... ชื่อดาห์เลียค่ะ - - จบ ป.ตรีจุลชีววิทยา ม.เกษตรศาสตร์เมื่อ 4 ปีก่อน (GPA= 3.58) และเพิ่ง จบป.โท ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ (GPA=3.90) ค่ะ  - - ถึงจะจบมานานแล้ว (แอร๊ย ฟังดูแก่มาก...) แต่วันนี้จะขอมาแฉ - เอ๊ย! แชร์ประสบการณ์กับน้องๆ ...เอาเป็นภาควิชาจุลชีววิทยาก่อนนะคะ เพราะดูท่าคนจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ต้องโปรโมทหน่อย 555+ (ส่วนภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ถ้ามีผู้สนใจเราอาจจะเขียนเป็นอีก 1 เอนทรีนะคะเพราะฟิลด์งานค่อนข้างต่างกันพอสมควร ^^)
โอเค โฆษณาจบละ เข้าเรื่องเลยดีกั่ว =3=)
ตอบคำถาม 5 ข้อ
1. ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?
เรียนจบแล้ว วันนี้จะมาเขียนเรื่องคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาค่ะ
2. สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?
การเรียนจุลชีววิทยาสามารถแบ่งได้เป็น 3 สายใหญ่ๆ ค่ะ คือ จุลชีววิทยาทางการแพทย์ จุลชีววิทยาทางอาหาร และจุลชีววิทยาทางการเกษตร ซึ่งเวลาเรียนเราจะมีสายเอกและสายรอง สายเอกคือเราจะต้องลงวิชาบังคับเลือกให้ครบ ส่วนสายรองอาจเลือกเรียนบางตัวได้
ขอยกตัวอย่างตัวเองนะคะ สายเอกของเราคือจุลชีววิทยาทางอาหาร วิชาบังคับเลือกที่เรียนเช่น จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม การประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ (วางระบบ HACCP, ISO ฯลฯ) จุลชีววิทยาอาหารหมัก จุลชีววิทยาผลิตภัณฑ์นมและโรงงานนม ฯลฯ ส่วนสายรองของเราคือการแพทย์ค่ะ ที่เรียนๆ มาก็เช่นจุลชีววิทยาสาธารณสุข แบคทีเรียวิทยาดีเทอร์มิเนทีฟ ระบาดวิทยา ไวรัสวิทยา <<ตัวนี้แหละที่ดร็อป เพราะทำใจทดลองกับกระต่ายไม่ได้ T^T)
การเลือกสายนี้จะทำกันตอนขึ้นปี 3 แล้วนะคะ คือเรียนวิชาภาคอย่างเดียวเลย แต่ปี 1-2 จะเรียนรวมกับภาควิชาอื่นๆ ค่ะ - - ขอเขียนรวมๆ นะคะ
ปี 1 - - แคลคูลัส 1 และ 2, เคมีเบื้องต้น 1 และ 2(+lab), ฟิสิกส์ 1(+lab)  , ชีววิทยา(+lab), สัตววิทยา(+lab), ภาษาอังกฤษ 1, 2 และ 3 (ถ้าคะแนนเอนท์ภาษาอังกฤษเกิน 70 ข้ามไประดับ 3 ได้เลยค่ะ ^^ รู้สึกระดับ 2 จะมีข้ามได้เหมือนกันแต่พอดีเราไม่ได้เรียน ขออภัยกั๊บ แหะๆ f(=w=;)
ปี 2 - -  ฟิสิกส์ 2 (+lab) , พฤกษศาสตร์(+lab), เคมีอินทรีย์(+lab), เคมีวิเคราะห์เชิงปริมาณ(+lab), จุลชีววิทยาทั่วไป (+lab), ชีวเคมี 1 (+lab)
ปี 3 - - ชีวเคมี 2, หลักพันธุศาสตร์ (+lab), วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ (+lab), เชื้อรา, ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์, การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา (lab) , สถิติจุลชีววิทยา 1 และวิชาเลือก 2 ตัว (ของเราคือ Yeast and Yeast Technology(+lab) และจุลชีววิทยาสุขาภิบาล(+lab)ค่ะ)
ปี 4 - - กายวิภาคศาสตร์จุลินทรีย์, สถิติจุลชีววิทยา 2, สัมมนา, ปัญหาพิเศษ, วิชาเลือก 4 ตัว (ของเราคือ Food Microbiology(+lab), Microbiology of Milk and Milk Product(+lab), Industrial Microbiology(+lab), Microbiology of fermented food(+lab)) และฝึกงาน 2 เดือนค่ะ
นอกจากนี้จะมีวิชาเลือกเสรีอีกอย่างน้อย 3 ตัว (ลงเมื่อไหร่ก็ได้ และลงเกินได้แต่ห้ามขาด) ซึ่งจะเรียนอะไรก็ได้ เราเลือกภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษขั้นสูง, ปรัชญา, อารยธรรมและประวัติศาสตร์โลกค่ะ (^^) เลือกตามใจตัวเองมาก 555+
ขอเขียนแต่วิชาที่ไม่ค่อยคุ้นกันนะคะ ข้ามพื้นฐานอย่างเคมี แคลคูลัส ฯลฯ ไปเพราะทุกคนรู้จักกันอยู่แล้วน่อ ^w^)
- วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ (Determinative Bacteriology)
มันก็คือการหัดจำแนกแยกแยะเชื้อด้วยวิธีการต่างๆ นั่นเอง - - ต้นเทอมอาจารย์จะให้เชื้อ unknown เรามา 1 หลอดแล้วก็ปล่อยเราปาย~ (ผ่านมา ฮื๊อฮือ ผ่านปาย~) เราต้องงัดสมบัติเก่ามาหาทางเอาตัวรอดเอง ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนขั้นต้นมาจะได้ใช้ก็งานนี้แล เพราะต้องเปิดตำราทำการทดสอบทั้งทางเคมี ชีวเคมี และจุลชีววิทยาเองเลยค่ะ จบเทอมก็เขียนรายงาน + เตรียมพรีเซนต์ unknown - - เป็นวิชาที่เหมือนจะชิวเพราะไม่ต้องเข้าเรียน แต่ต้องจัดตารางทำงานเองนะตัว =w=) และทุกคนจะทะนุถนอมเชื้อตัวเองราวไข่ในหินพันด้วยงูจงอางตัวแม่ก็มิปาน เพราะถ้าเชื้อปนเปื้อน หาย หรือตายจาก ก็เตรียมบ๋ายบาย~ วายชีวาตามไปได้เลยจ้ะ =w=;)

- เชื้อรา (Fungi)
ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด  วิชานี้ไม่มีอะไรจะพูด นอกจาก ท่อง ท่อง ท่อง และท่อง! ไม่มีทางอื่น แต่เหมือนจะเป็นข้อดีคือ ถ้าจำได้ก็ทำข้อสอบได้ เพราะมันตรงตัวเป๊ะๆ ไม่มีพลิกแพลงอันใดทั้งสิ้น (เพราะพลิกไม่ได้ แต่ตำราหนาจริงจัง TwT)

- ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์ (Genetic Microbiology)
เป็นวิชาที่คล้ายกับพันธุศาสตร์ค่ะแต่ลงลึกกว่า (และเล็กกว่า) เราจะเรียนกันในระดับเซลล์และโครโมโซมของเชื้อประเภทต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคทางพันธุศาสตร์เพื่อจำแนกเชื้อ เช่น Gel electrophoresis ทำ western blot, southern blot (กรี๊ดดด คุณยักษ์ช่วยด้วย) การจำแนกเชื้อด้วย 16s rRNA ฯลฯ - - วิชานี้สนุกค่ะ งานน้อย ไม่ต้องท่อง ขอเข้าใจก็พอ

- การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา
ตรงตัวค่ะ เรียนใช้เครื่องมือเฉพาะทาง วิชานี้สบ๊ายสบาย และได้ใช้งานจริงแน่นอนค่ะ

- Yeast and Yeast Technology
เป็นวิชาที่พวกผู้ชายชอบมากกก เพราะไปดูงานโรงเหล้าโรงเบียร์เป็นว่าเล่น (เกือบทุกยี่ห้อในประเทศไทย อิฉันไปเยือนมาหมดแล้วค๊า เอิ๊ก) กลับจากดูงานทีไร พวกมันเมาแอ่นเป็นศพบนรถทัวร์ทุกที =w=;) เป็นวิชาที่จำน้อย งานหนักนิดหน่อยเพราะตะลอนๆ และเขียนรายงานทุกอาทิตย์ แต่ถ้าเขียนได้ดีล่ะก็ เกรดจะสวยมากมายค่ะ 555+

- จุลชีววิทยาสุขาภิบาล
เรียนเรื่องหลักสุขาภิบาลและอนามัย ครอบคลุมไปถึงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันเบื้องต้น  เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทั่วไปและระบบวัคซีนด้วย

- กายวิภาคศาสตร์จุลินทรีย์
เรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ค่ะ เช่นแบคทีเรียประเภทต่างๆ เชื้อราประเภทต่างๆ เรียนอันนี้แล้วจะรู้ว่า ทำไมยาตัวนี้ถึงได้ผลกับเชื้อตัวนี้ สารตัวนี้ไปยับยั้งวงจรเอนไซม์ของเชื้อยังไง ฯลฯ

- สถิติจุลชีววิทยา
เรียนเกี่ยวกับการวางแผนการทดลองแบบต่างๆ และการวิเคราะห์ผลขั้นพื้นฐานค่ะ มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะกับคนที่คิดจะเรียนต่อในสายวิทยาศาสตร์นะ (^^)

- Food Microbiology
จุลชีววิทยาทางอาหาร วิชานี้ครอบคลุมวงกว้างแบบหลวมๆ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบอุตสาหกรรมค่ะ

- Microbiology of Milk and Milk Product
โรงนมและผลิตภัณฑ์นมทั้งหลาย วิชานี้จะได้ลองทำโยเกิร์ต คีเฟอร์ บัตเตอร์มิลค์ คอตเตจชีส แรร์ชีส ทำนมพาสเจอไรส์ ฯลฯ ทัวร์ฟาร์มวัวและโรงนมค่ะ

- Industrial Microbiology
ทุกเรื่องที่ควรู้เกี่ยวกับการทำงานในฝ่ายควบคุมทางชีวภาพของโรงงาน การเขียนแผน วางระบบประกันคุณภาพให้โรงงาน (เป็นที่ต้องการมากนะเคอะ โขวโบก) ระบบการทำงานของโรงงานต่างๆ ดูงานในฟิลด์ต่างๆ ที่เคยไปมาก็โรงงานสาหร่ายสไปรูลิน่า (ตอนนั้นดังมาก) โรงนม ฯลฯ  ...จำไม่ได้แล้วแฮะ  แต่ดูงานทุกอาทิตย์ค่ะ

- Microbiology of fermented food
ว่าด้วยเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารหมักทั่วโลก ตั้งแต่ข้าวหมาก สาโท อุ กระแช่ ไส้กรอกเปรี้ยว ปลาส้ม เนื้อหมัก ซาวเออร์เคร้าท์ เทมเป้ สีผสมอาหารจากจุลินทรีย์ วุ้นใยมะพร้าว วิตามินและสารสีจากการหมัก - - เป็นวิชาที่อิ่มมากกกก (ฮา)
3. สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
หลายอย่างค่ะ สามารถทำได้ทั้งภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน ห้องวิจัยต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานทางสาธารณสุขด้วย ขึ้นอยู่กับเราเลือกค่ะ (^^)
4. บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ
"ละเอียดและระเบียบวินัย" ค่ะ ขอแค่นี้พอ รับรองรุ่งและรอด ชัวร์!
5. อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
นี่เป็นสาขาที่คนไม่ค่อยรู้จัก หรืออาจจะถูกบล๊อกด้วยความเข้าใจผิดจนไม่ค่อยอยากทำความรู้จัก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่า "ตัวเชื้อโรค" (เคยโดนมาแล้ว) ทั้งที่จริงแล้วมันคือสิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุด เชื้อมีอยู่ทุกที่แหละน๊า กินเข้าไปทุกวัน กะปิ น้ำปลา ขนมจีน ทั้งตอนนี้ที่เราสูดหายใจเข้าไป หรือบนคีย์บอร์ดที่กำลังจิ้มนี่ก็ตาม
ถ้าถามว่าสนุกมั๊ย? โดยส่วนตัว เป็นงานที่สนุกและชอบค่ะ (^^) ถามว่าเหนื่อยมั๊ย? ก็เป็นธรรมดาของการเรียนค่ะ แต่ที่อยากย้ำคือ "ต้องมีวินัย" เพราะนี่คือการทำงานกับสิ่งมีชีวิตค่ะ (^^) ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้ามีกำหนดเก็บเชื้อที่ 24 ชม. น้องก็ต้องมาตามเวลานั้นๆ จะมาผลัดเป็น 30 หรือ 36 ชม. ไม่ได้ เพราะเชื้อมันโตเกินไปแล้ว มันไม่อยู่รอน้องแล้วค่า นอกจากนี้ถ้ามีความยืดหยุ่นได้จะดีมาก เพราะอย่างที่บอกว่าทำงานกับ "สิ่งมีชีวิต" ซึ่งบางทีบรรดาเจ้าหญิงทั้งหลายก็นึกจะเอาแต่ใจตัวเองขึ้นมา =w=;) ทีอยากให้โตล่ะไม่ค่อยจะโต บางทีไม่อยากให้โตก็เฟื่องฟูกันเข้าไป ...อันนี้ถ้าทำใจได้จะดีค่ะ 555+
การเรียนจุลชีววิทยาเป็นการฝึกตัวเองให้รู้จักวางแผนการทำงานอย่างนึง ซึ่งมันใช้ประโยชน์ได้มากๆ เลยในการดำเนินชีวิต และน้องจะรู้ว่า งานอะไรก็แล้วแต่ที่ว่าเยอะเนี่ย ถ้าวางแผนได้ดีแล้ว เราจะหาเวลาว่างได้เสมอ (เพื่อไปคอส ไปเย็บชุดลูกๆ ถ่ายรูปลูกๆ เขียนฟิก รับจ๊อบงานแปล ฯลฯ ลัลล๊า~)
และสุดท้ายนี้อยากบอกว่า - -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น