ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จุลชีววิทยาเขาเรียนอะไรกัน ???



From : www.microbeworld.org

ย้อนกลับมาถามตัวเรากันเองอีกครั้งว่า นักจุลชีววิทยา เขาทำอะไรกัน?
นักจุลชีววิทยาทำงานได้หลายรูปแบบ อาิทิ ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อาหาร, เกษตร, การควบคุมมลพิษ รวมถึงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, ด้านเภสัชศาสตร์ และสุขภาพอนามัย. นอกจากนี้ ยังทำงานในหน่วยงานราชการ หรือห้องปฏิบัติการอีกด้วย อาิทิ กรมสุขภาพอนามัย หรือ สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาล หรือเป็นอาจารย์/นักวิจัย เป็นต้น.
และเนื่องจากชนิดของจุลินทรีย์มีแบ่งแยกหลาย species และมีความแตกต่างกันมาก และคงไม่มีนักจุลชีววิทยาคนใด คนหนึ่งจะรู้ไปซะหมดทุกเชื้อ หรือทุกเรื่อง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ นักจุลชีววิทยามีความสนใจโดยมุ่งเน้นในเชื้อ หรืองานวิจัยที่สนใจ อาิทิ
* การศึกษาวิจัยเชื้อแบคทีเรีย จะเรียกนักวิจัยด้านนี้ว่า “Bacteriologists”
* การศึกษาวิจัยทางด้านไวรัส ก็จะเรียกว่า “Virologists”
* การศึกษาวิจัยทางด้านเชื้อรา ก็เรียกว่า “Mycologists”
นักจุลชีววิทยา สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่ก่อที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต (รวมถึง คน สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์เศรษฐกิจ) ในชาติได้ เช่น
* นักวิจัยที่ช่วยจำแนกเชื้อโรคที่เกิดระบาด และหาวิธีแก้ไข ก็เรียกว่า “Epidemiologists”
* นักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อเชื้อโรค ก็เรียกว่า “Immunologists”
นี่เป็นเพียงงานศึกษาวิจัย ส่วนหนึ่งของนักจุลชีววิทยาเท่านั้น และยังมีอีกมากมาย ซึ่งยังมีเชื้ออีกมากในโลกนี้ ยังไม่ถูกค้นพบ

จุลินทรีย์มหัศจรรย์ 8 เซียน
ชีววิทยา
{{Tag เรียน......อย่างคนมีกึ๋น }}
กติกา: 
1. copy กติกาของแท็กคนมีกึ๋นไปใส่ไว้ในเอ็นทรี่
2. ตั้งชื่อเอ็นทรี่เป็น "Tag เรียน....อย่างคนมีกึ๋น" <-- ใส่ชื่อคณะหรือเอกที่คุณเรียนลงไป
3. ตอบคำถาม 5 ข้อต่อไปนี้
- ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?
- สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?
- สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ
- อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
4. พิมพ์ชื่อ Tags ให้ไปอยู่ในหมวดหมู่ของคณะตัวเอง เช่น มนุษยศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ
รวมถึงหมวดหมู่ Admission เพื่อให้น้องๆ ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ได้เข้าไปเลือกอ่านได้ตามความสนใจ จากนั้นอย่าลืม.. ส่ง tag ต่อ
ก่อนฉายหนังต้องโฆษณาสรรพคุณก่อนมั๊ยอ่ะเคอะ ? เอาเป็นว่าแนะนำตัวคร่าวๆ ละกัน =3=)
อ่า... ชื่อดาห์เลียค่ะ - - จบ ป.ตรีจุลชีววิทยา ม.เกษตรศาสตร์เมื่อ 4 ปีก่อน (GPA= 3.58) และเพิ่ง จบป.โท ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ (GPA=3.90) ค่ะ  - - ถึงจะจบมานานแล้ว (แอร๊ย ฟังดูแก่มาก...) แต่วันนี้จะขอมาแฉ - เอ๊ย! แชร์ประสบการณ์กับน้องๆ ...เอาเป็นภาควิชาจุลชีววิทยาก่อนนะคะ เพราะดูท่าคนจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ต้องโปรโมทหน่อย 555+ (ส่วนภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ถ้ามีผู้สนใจเราอาจจะเขียนเป็นอีก 1 เอนทรีนะคะเพราะฟิลด์งานค่อนข้างต่างกันพอสมควร ^^)
โอเค โฆษณาจบละ เข้าเรื่องเลยดีกั่ว =3=)
ตอบคำถาม 5 ข้อ
1. ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?
เรียนจบแล้ว วันนี้จะมาเขียนเรื่องคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาค่ะ
2. สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?
การเรียนจุลชีววิทยาสามารถแบ่งได้เป็น 3 สายใหญ่ๆ ค่ะ คือ จุลชีววิทยาทางการแพทย์ จุลชีววิทยาทางอาหาร และจุลชีววิทยาทางการเกษตร ซึ่งเวลาเรียนเราจะมีสายเอกและสายรอง สายเอกคือเราจะต้องลงวิชาบังคับเลือกให้ครบ ส่วนสายรองอาจเลือกเรียนบางตัวได้
ขอยกตัวอย่างตัวเองนะคะ สายเอกของเราคือจุลชีววิทยาทางอาหาร วิชาบังคับเลือกที่เรียนเช่น จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม การประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ (วางระบบ HACCP, ISO ฯลฯ) จุลชีววิทยาอาหารหมัก จุลชีววิทยาผลิตภัณฑ์นมและโรงงานนม ฯลฯ ส่วนสายรองของเราคือการแพทย์ค่ะ ที่เรียนๆ มาก็เช่นจุลชีววิทยาสาธารณสุข แบคทีเรียวิทยาดีเทอร์มิเนทีฟ ระบาดวิทยา ไวรัสวิทยา <<ตัวนี้แหละที่ดร็อป เพราะทำใจทดลองกับกระต่ายไม่ได้ T^T)
การเลือกสายนี้จะทำกันตอนขึ้นปี 3 แล้วนะคะ คือเรียนวิชาภาคอย่างเดียวเลย แต่ปี 1-2 จะเรียนรวมกับภาควิชาอื่นๆ ค่ะ - - ขอเขียนรวมๆ นะคะ
ปี 1 - - แคลคูลัส 1 และ 2, เคมีเบื้องต้น 1 และ 2(+lab), ฟิสิกส์ 1(+lab)  , ชีววิทยา(+lab), สัตววิทยา(+lab), ภาษาอังกฤษ 1, 2 และ 3 (ถ้าคะแนนเอนท์ภาษาอังกฤษเกิน 70 ข้ามไประดับ 3 ได้เลยค่ะ ^^ รู้สึกระดับ 2 จะมีข้ามได้เหมือนกันแต่พอดีเราไม่ได้เรียน ขออภัยกั๊บ แหะๆ f(=w=;)
ปี 2 - -  ฟิสิกส์ 2 (+lab) , พฤกษศาสตร์(+lab), เคมีอินทรีย์(+lab), เคมีวิเคราะห์เชิงปริมาณ(+lab), จุลชีววิทยาทั่วไป (+lab), ชีวเคมี 1 (+lab)
ปี 3 - - ชีวเคมี 2, หลักพันธุศาสตร์ (+lab), วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ (+lab), เชื้อรา, ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์, การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา (lab) , สถิติจุลชีววิทยา 1 และวิชาเลือก 2 ตัว (ของเราคือ Yeast and Yeast Technology(+lab) และจุลชีววิทยาสุขาภิบาล(+lab)ค่ะ)
ปี 4 - - กายวิภาคศาสตร์จุลินทรีย์, สถิติจุลชีววิทยา 2, สัมมนา, ปัญหาพิเศษ, วิชาเลือก 4 ตัว (ของเราคือ Food Microbiology(+lab), Microbiology of Milk and Milk Product(+lab), Industrial Microbiology(+lab), Microbiology of fermented food(+lab)) และฝึกงาน 2 เดือนค่ะ
นอกจากนี้จะมีวิชาเลือกเสรีอีกอย่างน้อย 3 ตัว (ลงเมื่อไหร่ก็ได้ และลงเกินได้แต่ห้ามขาด) ซึ่งจะเรียนอะไรก็ได้ เราเลือกภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษขั้นสูง, ปรัชญา, อารยธรรมและประวัติศาสตร์โลกค่ะ (^^) เลือกตามใจตัวเองมาก 555+
ขอเขียนแต่วิชาที่ไม่ค่อยคุ้นกันนะคะ ข้ามพื้นฐานอย่างเคมี แคลคูลัส ฯลฯ ไปเพราะทุกคนรู้จักกันอยู่แล้วน่อ ^w^)
- วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ (Determinative Bacteriology)
มันก็คือการหัดจำแนกแยกแยะเชื้อด้วยวิธีการต่างๆ นั่นเอง - - ต้นเทอมอาจารย์จะให้เชื้อ unknown เรามา 1 หลอดแล้วก็ปล่อยเราปาย~ (ผ่านมา ฮื๊อฮือ ผ่านปาย~) เราต้องงัดสมบัติเก่ามาหาทางเอาตัวรอดเอง ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนขั้นต้นมาจะได้ใช้ก็งานนี้แล เพราะต้องเปิดตำราทำการทดสอบทั้งทางเคมี ชีวเคมี และจุลชีววิทยาเองเลยค่ะ จบเทอมก็เขียนรายงาน + เตรียมพรีเซนต์ unknown - - เป็นวิชาที่เหมือนจะชิวเพราะไม่ต้องเข้าเรียน แต่ต้องจัดตารางทำงานเองนะตัว =w=) และทุกคนจะทะนุถนอมเชื้อตัวเองราวไข่ในหินพันด้วยงูจงอางตัวแม่ก็มิปาน เพราะถ้าเชื้อปนเปื้อน หาย หรือตายจาก ก็เตรียมบ๋ายบาย~ วายชีวาตามไปได้เลยจ้ะ =w=;)

- เชื้อรา (Fungi)
ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด  วิชานี้ไม่มีอะไรจะพูด นอกจาก ท่อง ท่อง ท่อง และท่อง! ไม่มีทางอื่น แต่เหมือนจะเป็นข้อดีคือ ถ้าจำได้ก็ทำข้อสอบได้ เพราะมันตรงตัวเป๊ะๆ ไม่มีพลิกแพลงอันใดทั้งสิ้น (เพราะพลิกไม่ได้ แต่ตำราหนาจริงจัง TwT)

- ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์ (Genetic Microbiology)
เป็นวิชาที่คล้ายกับพันธุศาสตร์ค่ะแต่ลงลึกกว่า (และเล็กกว่า) เราจะเรียนกันในระดับเซลล์และโครโมโซมของเชื้อประเภทต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคทางพันธุศาสตร์เพื่อจำแนกเชื้อ เช่น Gel electrophoresis ทำ western blot, southern blot (กรี๊ดดด คุณยักษ์ช่วยด้วย) การจำแนกเชื้อด้วย 16s rRNA ฯลฯ - - วิชานี้สนุกค่ะ งานน้อย ไม่ต้องท่อง ขอเข้าใจก็พอ

- การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา
ตรงตัวค่ะ เรียนใช้เครื่องมือเฉพาะทาง วิชานี้สบ๊ายสบาย และได้ใช้งานจริงแน่นอนค่ะ

- Yeast and Yeast Technology
เป็นวิชาที่พวกผู้ชายชอบมากกก เพราะไปดูงานโรงเหล้าโรงเบียร์เป็นว่าเล่น (เกือบทุกยี่ห้อในประเทศไทย อิฉันไปเยือนมาหมดแล้วค๊า เอิ๊ก) กลับจากดูงานทีไร พวกมันเมาแอ่นเป็นศพบนรถทัวร์ทุกที =w=;) เป็นวิชาที่จำน้อย งานหนักนิดหน่อยเพราะตะลอนๆ และเขียนรายงานทุกอาทิตย์ แต่ถ้าเขียนได้ดีล่ะก็ เกรดจะสวยมากมายค่ะ 555+

- จุลชีววิทยาสุขาภิบาล
เรียนเรื่องหลักสุขาภิบาลและอนามัย ครอบคลุมไปถึงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันเบื้องต้น  เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทั่วไปและระบบวัคซีนด้วย

- กายวิภาคศาสตร์จุลินทรีย์
เรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ค่ะ เช่นแบคทีเรียประเภทต่างๆ เชื้อราประเภทต่างๆ เรียนอันนี้แล้วจะรู้ว่า ทำไมยาตัวนี้ถึงได้ผลกับเชื้อตัวนี้ สารตัวนี้ไปยับยั้งวงจรเอนไซม์ของเชื้อยังไง ฯลฯ

- สถิติจุลชีววิทยา
เรียนเกี่ยวกับการวางแผนการทดลองแบบต่างๆ และการวิเคราะห์ผลขั้นพื้นฐานค่ะ มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะกับคนที่คิดจะเรียนต่อในสายวิทยาศาสตร์นะ (^^)

- Food Microbiology
จุลชีววิทยาทางอาหาร วิชานี้ครอบคลุมวงกว้างแบบหลวมๆ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบอุตสาหกรรมค่ะ

- Microbiology of Milk and Milk Product
โรงนมและผลิตภัณฑ์นมทั้งหลาย วิชานี้จะได้ลองทำโยเกิร์ต คีเฟอร์ บัตเตอร์มิลค์ คอตเตจชีส แรร์ชีส ทำนมพาสเจอไรส์ ฯลฯ ทัวร์ฟาร์มวัวและโรงนมค่ะ

- Industrial Microbiology
ทุกเรื่องที่ควรู้เกี่ยวกับการทำงานในฝ่ายควบคุมทางชีวภาพของโรงงาน การเขียนแผน วางระบบประกันคุณภาพให้โรงงาน (เป็นที่ต้องการมากนะเคอะ โขวโบก) ระบบการทำงานของโรงงานต่างๆ ดูงานในฟิลด์ต่างๆ ที่เคยไปมาก็โรงงานสาหร่ายสไปรูลิน่า (ตอนนั้นดังมาก) โรงนม ฯลฯ  ...จำไม่ได้แล้วแฮะ  แต่ดูงานทุกอาทิตย์ค่ะ

- Microbiology of fermented food
ว่าด้วยเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารหมักทั่วโลก ตั้งแต่ข้าวหมาก สาโท อุ กระแช่ ไส้กรอกเปรี้ยว ปลาส้ม เนื้อหมัก ซาวเออร์เคร้าท์ เทมเป้ สีผสมอาหารจากจุลินทรีย์ วุ้นใยมะพร้าว วิตามินและสารสีจากการหมัก - - เป็นวิชาที่อิ่มมากกกก (ฮา)
3. สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
หลายอย่างค่ะ สามารถทำได้ทั้งภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน ห้องวิจัยต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานทางสาธารณสุขด้วย ขึ้นอยู่กับเราเลือกค่ะ (^^)
4. บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ
"ละเอียดและระเบียบวินัย" ค่ะ ขอแค่นี้พอ รับรองรุ่งและรอด ชัวร์!
5. อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
นี่เป็นสาขาที่คนไม่ค่อยรู้จัก หรืออาจจะถูกบล๊อกด้วยความเข้าใจผิดจนไม่ค่อยอยากทำความรู้จัก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่า "ตัวเชื้อโรค" (เคยโดนมาแล้ว) ทั้งที่จริงแล้วมันคือสิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุด เชื้อมีอยู่ทุกที่แหละน๊า กินเข้าไปทุกวัน กะปิ น้ำปลา ขนมจีน ทั้งตอนนี้ที่เราสูดหายใจเข้าไป หรือบนคีย์บอร์ดที่กำลังจิ้มนี่ก็ตาม
ถ้าถามว่าสนุกมั๊ย? โดยส่วนตัว เป็นงานที่สนุกและชอบค่ะ (^^) ถามว่าเหนื่อยมั๊ย? ก็เป็นธรรมดาของการเรียนค่ะ แต่ที่อยากย้ำคือ "ต้องมีวินัย" เพราะนี่คือการทำงานกับสิ่งมีชีวิตค่ะ (^^) ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้ามีกำหนดเก็บเชื้อที่ 24 ชม. น้องก็ต้องมาตามเวลานั้นๆ จะมาผลัดเป็น 30 หรือ 36 ชม. ไม่ได้ เพราะเชื้อมันโตเกินไปแล้ว มันไม่อยู่รอน้องแล้วค่า นอกจากนี้ถ้ามีความยืดหยุ่นได้จะดีมาก เพราะอย่างที่บอกว่าทำงานกับ "สิ่งมีชีวิต" ซึ่งบางทีบรรดาเจ้าหญิงทั้งหลายก็นึกจะเอาแต่ใจตัวเองขึ้นมา =w=;) ทีอยากให้โตล่ะไม่ค่อยจะโต บางทีไม่อยากให้โตก็เฟื่องฟูกันเข้าไป ...อันนี้ถ้าทำใจได้จะดีค่ะ 555+
การเรียนจุลชีววิทยาเป็นการฝึกตัวเองให้รู้จักวางแผนการทำงานอย่างนึง ซึ่งมันใช้ประโยชน์ได้มากๆ เลยในการดำเนินชีวิต และน้องจะรู้ว่า งานอะไรก็แล้วแต่ที่ว่าเยอะเนี่ย ถ้าวางแผนได้ดีแล้ว เราจะหาเวลาว่างได้เสมอ (เพื่อไปคอส ไปเย็บชุดลูกๆ ถ่ายรูปลูกๆ เขียนฟิก รับจ๊อบงานแปล ฯลฯ ลัลล๊า~)
และสุดท้ายนี้อยากบอกว่า - -

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556


Microbiology

                   Microbiology (from Greek μῑκρος, mīkros, "small"; βίος, bios, "life"; and -λογία-logia) is the study of microscopic organisms, either unicellular (single cell), multicellular (cell colony), oracellular (lacking cells).[1] Microbiology includes the disciplines virologymycologyparasitologybacteriology, and so on.
Eukaryotic microorganisms exhibit cell organelles and include fungi and protists, whereas prokaryotic organisms—which all are microorganisms—are conventionally classified as lacking organelles and include eubacteria and archaebacteria. Microbiologists traditionally relied on culture, staining, and microscopy. Apparently, however, only some 1% of the microorganisms present in some environments are culturable.[2] Microbiologists often rely on extraction or detection of nucleic acid, either DNA or RNA sequences.
Viruses are not always classified as organisms,[3] as they have been identified either as very simple microorganisms or very complex molecules. Prions, never considered microorganisms, have been investigated by virologists, however, as the clinical effects traced to them were originally presumed due to chronic viral infections, and virologists took search—discovering "infectious proteins".

As an application of microbiology, medical microbiology is often introduced with medical principles of immunology as microbiology and immunology. Otherwise, microbiology, virology, and immunology as basic sciences have greatly exceeded the medical variants, applied sciences